top of page

หัวเรื่อง 1

 การกำหนดตำแหน่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องมีตำแหน่งไว้อ้างอิง เรียกว่า IP Address ต้องไม่ซ้ำกัน

    การกำหนด IP Address ที่ใช้ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ไบต์ (32 บิต) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมายเลขเครือข่าย (NetID) และหมายเลขโฮสต์ (HostID) สำหรับส่วนของหมายเลขเครือข่ายใช้การระบุคลาส (Class) ของ IP Address นั้นด้วย แต่ละส่วนของ IP Address ทำหน้าที่ต่างกัน ดังนี้

    1. คลาส (Class)  ระบุว่า  IP Address นั้นอยู่ในคลาส

    2. หมายเลข เครือข่าย (Network Identifier) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการกำหนดเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่าย

    3. หมายเลข โฮสต์ (Host Identifier) เป็นส่วนใช้ระบุตำแหน่งของแต่ละอุปกรณ์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แสดงส่วนประกอบของ IP Address

คลาส (Class)

  รูปแบบของคลาสที่มีใช้ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ

image001.jpg
1 คลาส (Class) A

คลาส A มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย 7 บิต โดยบิตแรกจะมีค่าคงที่คือ 0 เพื่อแสดงว่าเป็นคลาส A ดังนั้นในคลาสนี้สามารถมีหลายเลขเครือข่ายได้ 126 = (2^7-2) หลายเลขและมีหมายเลขโฮสต์ ได้ 2^24-2 = 16,777,214 หมายเลข

  IP Address คลาส A นี้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในองค์กรหรือหน่วยงานขนาดใหญ่มีโฮสต์จำนวนมาก

2 คลาส (Class) B

คลาส B มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย 14 บิต โดยสองบิตแรกมีค่าคงที่คือ 10 เพื่อ แสดงว่าเป็นคลาส B มีหมายเลขในเครือข่ายได้  

  65,534=〖(2〗^16-2) หมายเลข

  IP Address คลาส B เหมาะสำหรับใช้งานในองค์กรขนาดกลาง เช่นสถาบันการศึกษา

3 คลาส (Class) C

คลาส c  มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย 21  บิต โดยสามบิตแรกมีค่าคงที่คือ 110 เพื่อ แสดงว่าเป็นคลาส c มีหมายเลขในเครือข่ายได้  

  254=〖(2〗^8-2) หมายเลข

  IP Address คลาส B เหมาะสำหรับใช้งานในองค์กรขนาดเล็ก

4 คลาส (Class) D
สงวนการใช้งานไว้สำหรับ Multicast Address
5 คลาส (Class) E
สงวนการใช้งานไว้ในอนาคต

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

 

  1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)

เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้

ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

  2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)

เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต

โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Webในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และInternet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นwww.nu.ac.th

nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

th หมายถึง ประเทศไทย

  3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)

เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใดๆในระบบมาไว้ยังเครื่องของเราซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)

  4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)

บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที

  5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)

ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์หรือคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆคนในลักษณะของการChatเช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น

  6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)

เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด

  7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)

เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง

เฟส.jpg

การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต​

 การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็น สมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของ คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
      โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
      2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน

3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ         
   1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
            2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
           3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับ รัฐ

internet1_untitled.gif
bottom of page